วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปทุมธานี

อาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปทุมธานี
กาละแม กาละแม เป็นขนมไทยโบราณที่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเพื่อใช้ในงานบุญและใช้แจกในงานเทศกาลแก่ญาติผู้ใหญ่และพี่น้อง กาละแม มีส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และน้ำสะอาดต้มสุก
ข้าวเกรียบมอญโบราณข้าวเกรียบมอญโบราณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าวเกรียบงาปิ้ง อยู่คู่จังหวัดปทุมธานีมามากว่า ๑๐๐ ปี โดยเข้ามาพร้อมกับการอพยพของชาวมอญจากเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า อพยพเข้ามาอยู่บริเวณเขตอำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคกในปัจจุบัน ข้าวเกรียบมอญโบราณเป็นอาหารประเภทขนม หรืออาหารกินเล่นของคนมอญอพยพ สาเหตุการอพยพนี้เอง จึงทำให้การทำอาหารของชาวมอญในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวาน ต้องไม่ยุ่งยากในการจัดเตรียม แต่จะทำแบบมีส่วนผสมของอาหารง่ายๆ หาวัสดุอุปกรณ์ได้ในพื้นที่ และเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานๆ เช่นข้าวเกรียบมอญโบราณ สามารถเก็บไว้ได้นานเกิน ๓ เดือน ทั้งที่ไม่ใช้ยากันบูดในการทำ แต่การเก็บจะต้องเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น หรืออากาศเข้าไม่ได้ เพราะจะทำให้ข้าวเกรียบเหนียว ไม่กรอบ และไม่อร่อย
สิ่งของเครื่องใช้ประจำจังหวัดปทุมธานี
หัตถกรรมโอ่งสามโคก เครื่องปั้นดินเผา และอิฐมอญนั้น แต่เดิมทำกันอย่างกว้างขวางในเมืองปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี วัฒนธรรม และการสั่งสมทางภูมิปัญญาส่วนใหญ่ของชาวมอญ อันมีชื่อเสียงในอดีต แทบจะไม่มีใครเห็นแล้วในปัจจุบัน ด้วยวิถีชาวบ้านที่เปลี่ยนไป ความนิยมในเครื่องใช้ และภาชนะที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผาลดลง
ประกอบกับไม่มีผู้สืบทอดภูมิปัญญา และผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้ล้มหายตายจากกันไป จึงขาดผู้สืบสารตำนานสามโคก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 คุณนิคม บางจริงได้พยายามหาลู่ทางในการประกอบอาชีพ โดยเลือกหาวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น จึงได้เลือกเครื่องปั้นดินเผาสามโคกมาเป็นวัตถุดิบหลัก   และได้ใช้เวลาในการคิดค้น และศึกษาอยู่ประมาณ 7 เดือน เพื่อที่จะให้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับดินเผา และเพื่อให้สินค้ากลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และจาก
การที่ได้ไปเห็น "โอ่งเพ้นท์สี" ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของ ของอย่างหนึ่ง และจากการได้เคยเห็น "เครื่องเบญจรงค์"
จึงได้กลับมาคิดหาวิธีทำบ้าง แต่ปรับปรุงใหม่โดยใช้เศษผ้าไหมที่มีอยู่คิดทำประดิษฐ์ขึ้นมา เป็นโอ่งประดับด้วยผ้าไหมและเนื่องจากชาวบ้านไม่มีความชำนาญในการวาดลวดลายไทย เหมือนการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้นึกถึงผ้าไหม ซึ่ง
จะมีลวดลายในตัว และประมาณเดือนกันยายน 2544 ได้มีการจัดทำแผนประชารัฐ โดยการจัดให้มีการประชุมประชาคมตำบลขึ้น คุณนิคม บางจริง ได้นำผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" ตัวนี้ไปเข้ารับการจัดทำแผนประชารัฐด้วย
ที่ประชุมประชาคมตำบลคลองพระอุดม จึงได้มีมติรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" เป็นสินค้าประจำตำบลคลองพระอุดม และต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบ และลวดลายใหม่ๆ มีทั้งโอ่ง อ่าง แจกัน คณโฑ กรรณน้ำต้นไห หม้อยา โอ่งทิชชู โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟหัวเตียง และรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ จะรู้จักสินค้าภายใต้ชื่อ "Thai Silk Jar" ในปัจจุบันได้มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปจำหน่ายทั้งตลาดภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้ามีรูปแบบให้เลือกมากกว่า 200 รูปแบบ มีลวดลายมากกว่า 100 ลาย และมีสีสรรมากกว่า 10 สี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น