วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แข่งลูกหนูประเพณีคู่งานศพของชาวมอญ

                    แข่งลูกหนูประเพณีคู่งานศพของชาวมอญ
     ปัจจุบันการแข่งขัน  ลูกหนู  ได้กลายมาเป็นประเพณีของชาวมอญในจังหวัดปทุมธานีประเพณีหนึ่งซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ และน่าศึกษาเรื่องหนึ่ง  เรื่องนี้เป็นความเชื่อถือที่ถูกสืบทอดกันมาแต่โบราณ  ในปัจจุบันจะหาชมได้ยากยิ่ง  เพราะประเพณีนี้จะมีขึ้นก็เฉพาะในงานฌาปนกิจศพของพระสงฆ์ระดับสมภาร   หรือเจ้าอาวาสขึ้นไปเท่านั้น
      พระที่มรณภาพไปแล้วนั้นโดยทั่วไปชาวมอญจะไม่นิยมฌาปนกิจสด  โดยมากจะต้องเก็บเก็บศพไว้รอจนถึงราวประมาณเดือน 4 หรือเดือน 5 ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งและจะมีญาติโยมว่างเว้นงานจากไร่ นากันมาก  ทางวัดก็จะแจ้งข่าวและจัดเตรียมงานฌาปนกิจศพทันทีโดยในงานจะประกอบด้วย มหรสพต่างๆ ในตอนกลางคืนส่วนในตอนกลางวันเมื่อตะวันบ่าย  จะมีการจัดแข่งขันจุดลูกหนู  ให้พุ่งไปสู่เป้าหมายและมีรางวัลซึ่งวัดต่างๆในเขตหมู่บ้าน  อำเภอใกล้เคียงก็จะพากันระดมกำลังช่างฝีมือมาจัดทำลูกหนุ  เพื่อเข้าร่วมพิธี  และแข่งขันชิงรางวัลเกียรติยศนี้  แม้ในการทำลูกหนูในแต่ละครั้งจะยากเย็น   และต้องใช้ความชำนาญสูงสักเพียงใดทุกคณะก็ไม่หวั่น  ขอให้ได้เข้าร่วมงานด้วยเป็นพอ  การเรียกชื่อคณะจะนิยมเรียกชื่อตามสายของวัดที่จัดทำมาร่วมงานเช่น  คณะลูกหนูวัดกร่าง  คณะลูกหนูวัดป่างิ้ว คณะลูกหนูวัดบางเตย คณะลูกหนูวัดดอกไม้ คณะลูกหนูวัดปทุมทอง คณะลูกหนูวัดโบสถ์  คณะลูกหนูวัดน้ำวน คณะลูกหนูวัดจันทน์กะพ้อ ฯลฯ เป็นต้น
วิธีการทำลูกหนู
   ตั้งแต่สมัยโบราณมาจะนิยมใช้ไม้ไผ่สีสุกทำเป็นตัวกระบอกโดยจะต้องมีการคัดเลือกไม้ไผ่ที่ได้ขนาดตามสูตร  คือจะมีความยาว ประมาณ 1-2 ปล้อง  และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตรนำมาตัดเก็บข้อหัวท้ายไว้  ต่อๆ มาระยะหลังมีการดัดแปลงกระบอกเป็นการใช้ไม้มะม่วงนำมากลึงเป็นท่อนยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-15เซนติเมตร  หัวท้ายจะกลึงให้เรียวมนทำให้พุ่งดี  และแม่นยำ  มีน้ำหนักดีจะนำเอาไม้กลึงหรือไม้ไผ่ดังกล่าวนี้มาเจาะให้ทะลุเพื่ออัดดินปืน  หรือดินขับ ซึ่งมีส่วนผสมของ  ดินประสิว, ถ่าน  , กำมะถัน , และจะใช้ดินเหนียวซึ่งได้มาจากจอมปลวกที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นดินทนความร้อนสูงนี้มาอุดปิดส่วนหัว-ท้าย  การอัดบรรจุดินปืนตามสูตรนิยมใส่ดินปืนที่ผสมเสร็จแล้ว 1ช้อนแกง  แล้วตอกอัดให้แน่น 100ที  แล้วเติมดินปืนเท่าเดิมจนเต็มกระบอกลูกหนู  จึงใช้ดินเหนียวปิดท้ายให้แน่น  หัวท้ายจะรัดด้วยปลอกเหล็ก ปัจจุบันมีบางคณะไม่สะใจทดลองใช้กระบอกเหล็กทำแกนไส้  แต่มีข้อจำกัดว่ามีอันตรายสูงมากกว่าไม้ ภายหลังจึงห้ามทำและหมดความนิยมไป




การตกแต่ง
  จะต้องมีการตกแต่งลูกหนูทุกลูกที่ทำเสร็จแล้ว  เพื่อให้ดูสวยงาม  แลเพื่อเป็นคะแนนในการแห่ประกวดกันด้วยโดยจะมีการประดับประดาตัวลูกหนูด้วยการทาสีสลับลวดลายและใช้กระดาษสีต่างๆ ตัดเป็นลายเป็นริ้วติดประดับตกแต่งอย่างสวยงาม  คณะหนึ่งๆ ต้องทำลูกหนูมาเข้าร่วมแข่งขันด้วยอย่างน้อย 12-14 ลูก
การเตรียมการแข่งขัน
   ก่อนการแข่งขันแต่ละคณะจะต้องส่งตัวแทนไปจับฉลาก  เพื่อจัดและกำหนดสายวิ่งเรียงตามลำดับ  แล้วจึงนำสายลูกหนู  ซึ่งทำด้วยลวดสลิงยาวประมาณ 100เมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ไปขึงเป็นสายวิ่ง  สายวิ่งนี้โบราณจะใช้หนังควายถัก  แต่ไม่ทนเท่าลวดสลิง  จากนั้นจะทำการตั้งขาหยั่ง 3 ขา หรือ 1 ขาก็ตาม ดันสายให้สูงจากพื้นประมาณ 5 เมตร  ปลายสายทางด้านเมรุปราสาทจำลองซึ่งเป็นเป้าหมายนั้นต้องลดลงต่ำลงโดยจะมีเขื่อนเป็นท่อนไม้ขวางอยู่หน้าเมรุให้สายลอดลงใต้เขื่อนทุกสายจะไปรวมกันที่จุดสุดท้ายคือเขื่อนที่ต้นสายนั้นให้แยกกระจายสายออกห่างกันประมาณสายละ 5 เมตร เพื่อสะดวกในการนำลูกหนูขึ้นลง  หรือการติดตั้งลูกหนู จุดยิงหรือจุดปล่อยลูกหนูจะอยู่ค่อนไปตรงกลางสายซึ่งจะห่างจากจุดเป้าหมายที่เป็นเขื่อนประมาณ 40 เมตร
การแห่ลูกหนู
  วัดที่มีงานนี้จะมีผู้คนไปร่วมงานมากมาย  ล่าสุดผู้เขียนไปร่วมงานที่วัดบ้านพร้าวนอก เห็นคนมากมายล้นหลามรถติดยาวกว่า 3 กิโลเมตร สังเกตเห็นว่าทางวัดจะมีอาหารคาว หวาน โดยจะตั้งเป็นโรงทาน  เพื่อเลี้ยงกัน  เห็นมีข้าวต้ม ข้าวผัด ข้าวแกง ขนมข้าวตอกน้ำกะทิ ลอดช่อง น้ำแข็ง น้ำชา ฯลฯ ซึ่งคณะจากวัดต่างๆ จัดมาร่วมนั่นเองส่วนพวกขบวนแห่จะแต่งกายเป็นแบบแฟนซีหลากสีสวยสดงดงามมีทั้งประเภทวัฒนธรรมความคิด สวยงาม และตลก ก็แล้วแต่ละคณะที่พร้อมจะจัดขบวนมาร่วมแห่ มีเถิดเทิงกลองยาวตีประโคมอย่างสนุกสนานนำขบวนโดยคนถือป้ายบอกชื่อคณะลูกหนูเดินพร้อมมีเสียงโห่ แห่ไปรอบเมรุจริงที่ตั้งศพพระกลางลานวัด  แห่วน 3 รอบ เป็นการเคารพศพ จากนั้นจึงแห่ไปยังลานแข่งขันลูกหนู ซึ่งมักจะจัดไว้ห่างออกไปหรือในทุ่งนา ที่โล่งแจ้งห่างบ้านเรือน  แล้วนำลูกหนูขึ้นสายตามที่จับฉลากได้ตามลำดับ 
ลูกหนู ก่อนทำเป็นรูป เรียก กระบอก เมื่อทำเสร็จตกแต่งแล้ว  เรียกเป็น ตัว และเมื่อ ขึ้นสายพร้อมจุดชนวน เรียก สาย (ผู้เขียนเข้าใจเอง)





กฎ กติกา มารยาท ในการแข่งขัน
      ทางวัดจะจัดตั้งเมรุจำลอง  มีปราสาทยอดแหลมครอบเมรุที่ตั้งศพไว้กลางทุ่งเป็นเป้าหมาย  ให้เห็นเด่นชัดสูงตระหง่าน  เมื่อคณะลูกหนูสายต่างๆ เข้าประจำที่ตามสายของตนแล้วจะลดขาหยั่งเพื่อเอาสายลงมานำลูกหนูติดสายชนวนและผูกลูกหนูติดกับลวดสลิง โดยจะใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกประกบกับสายสลิงให้เป็นท่อแล้วมัดหัวท้ายให้แน่นด้วยตอก  จึงชักลูกหนูขึ้นรอกขาหยั่งประจำที่เดิม  เตรียมการจุดลูกหนูด้วยคบไฟ โดยจะรอดูสัญญาณจากคณะกรรมการซึ่งจะใช้วิธีชักธงแดงขึ้นเสาเพื่อบอกสัญญาณเริ่มแข่งขัน
ลูกหนูเมื่อถูกจุดจะวิ่งไปตามสายเมื่อพุ่งไปถึงเขื่อน  ลูกหนูจะหลุดจากสายและเหวี่ยงตัวกระเด็นไปด้วยความเร็ว ไปยังตัวปราสาทที่ตั้งไว้  ถ้าลูกหนูสายใดเหวี่ยงตัวไปถูกยอดปราสาทก็จะชนะที่ 1แต่ถ้าเป็นส่วนอื่นๆ ก็จะมีรางวัลให้ลดหลั่นกันไป   ทำเช่นนี้จนกว่าลูกหนูจะหมดสายทุกสายหรือปราสาทจำลองพังลงมาจึงจะยุติการแข่งขัน
สรุป
   ผู้เขียนสันนิษฐานว่า  แต่เดิมมานั้นในการจัดงานฌาปนกิจศพพระสงฆ์ระดับสมภารหรือเจ้าอาวาสของชาวมอญนั้น  ก็จะมีพิธีการใหญ่โตทำกันอยู่แล้ว  คือจะนำเอาศพพระใส่โลงพิเศษทรงดอกผักบุ้ง  หรือ กาวุ้น จะมีลักษณะด้านล่างเล็กส่วนบนผายออกเหมือนดอกผักบุ้ง ประดับประดาด้วยดอกไม้ ลายฉลุสวยงาม ฝาโลงทำเป็นยอดปราสาท 3 ยอด หรือ 5 ยอด ชาวมอญเรียก
เมรุปราสาท ซึ่งในการจุดไฟเพื่อทำการฌาปนกิจศพนั้นแต่เดิมใช้ชนวนไฟดินปืน วิ่งไปตามสายที่ขึงไว้ตรงไปยังแท่นปราสาท คล้ายชนวนฟักแค ด้วยชาวมอญโบราณถือว่าศพของพระจะไม่จุดไฟฌาปนกิจศพอย่างศพคนธรรมดา เชื่อว่าต่อมาภายหลังวิธีการจุดไฟแบบชนวนเป็นกระบอกไฟ   พัฒนาเป็นลูกหนู   ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่   หรือไม้กลึงวิ่งไปตามสาย   จนกลายมาเป็นประเพณีที่ยึดถือว่าเป็นการแข่งขันกันเพื่อความสนุกสนาน จุดมุ่งหมายเดิมก็เปลี่ยนไปเป็นด้วยการพุ่งไปทำลายเป้าหมายที่เมรุปราสาทจำลอง 
    ปัจจุบัน  ลูกหนู  กลายมาเป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน  และเป็นการแข่งขันกันของคณะวัดต่างๆ  ไปเสียแล้ว  ท่ามกลางเสียงดัง แซ็ด  ๆ หวีดหวิว แหวกอากาศไปด้วยพลังไอพ่นอย่างรวดเร็วดังจรวดก็ไม่ปาน  และท่ามกลางควันไฟ  เขม่าดินปืนที่คละคลุ้งไปทั่วลานแข่งขันนั้น  ผู้คนที่มาร่วมงานทั่วทุกสารทิศต่างก็ได้ซึมซับเอาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม อย่างหนึ่งไปด้วยโดยไม่รู้ตัว  พร้อมๆ กับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ความรัก ความสามัคคี ร่วมมือกันทำงานเป็นหมู่คณะ  ความมีน้ำใจให้กัน มีความโอบอ้อมอารีมีเมตตาต่อกัน และเมื่อเสร็จงานต่างก็แยกย้ายจากกันไปด้วยจิตใจที่อิ่มเอมกับการที่ได้มาร่วมงานบุญนี้
(ข้อมูลจาก ชมรมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ชั้น 2 อาคารปัทมา โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี)

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

บุคคลสำคัญของจังหวัดปทุมธานี

บุคคลสำคัญของจังหวัดปทุมธานี

vacharaphol's Avatar
หลวงปู่เทียน
เมืองปทุมธานี จัดเป็นเมืองที่มีพระเกจิอาจารย์ที่มีความเข้มขลังทางพุทธาคม มากมายหลายรูป เช่น หลวงปู่ช้าง วัดเขียนเขตต์, หลวงปู่เขียน วัดบ้านพร้าวนอก, หลวงพ่ออำภา วัดน้ำวน, หลวงปู่ด๊วด วัดกลางคลองสี่, หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ ฯลฯ ซึ่งเกจิเมืองปทุมนี้ มักจะมีเชื้อสายมอญอยู่บ้าง ที่เรารู้จักกันดีก็คือ หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งตำรับตำราของมอญนี่แหละที่ก่อให้เกิดความเข้มขลังอย่างเอกอุในพระเครื่องรางของขลัง มาแต่สมัยโบราณกาล
หลวงพ่อหอม

หลวงพ่อหอม" นามเดิม เปรื่อง นามสกุล ศีลปี แต่ชาวบ้านตำบลบางเตย นิยมเรียกท่านว่า "หอม" เกิดที่ตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บิดาชื่อ แปลก ศีลปี เป็นชาวฝั่งธนบุรี แถวสามแยกไฟฉายตรงข้ามวัดรวก มารดาชื่อ เปลื้อง (ใจทน) เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

หลวงพ่อท่านเป็นบุตรโทน อาชีพทำนาและค้าขาย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2459 ในวัยเด็กหลวงพ่อหอมเรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนวัดจันทร์กะพ้อ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี จนจบ ม.1 ปัจจุบันเรียกว่า ชั้น ป.5 แล้วลาออกไม่ได้เรียนต่ออีก พอโตวัยหนุ่มได้ช่วยบิดามารดาค้าขาย

จนมีอายุครบ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดไผ่ล้อม ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมี พระอธิการจ่าง เกสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเจริญ ญาติวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมลำดับต่อมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "รามธมฺโม"

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ได้จำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม เรียนพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จนสอบได้นักธรรม หลวงพ่อหอมมีความสนใจในด้านทำพระเครื่องมาก จึงเรียนวิชาทำพระเครื่องทำตะกรุดและวัตถุมงคลต่างๆ ทุกชนิด เรียนกับอาจารย์มาตลอด ท่านจำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม 5 พรรษา พอดีเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลางว่างลง ท่านเจ้าคุณพระปทุมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ในขณะนั้น และญาติโยมที่วัดบางเตยกลางได้ไปนิมนต์ท่านให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง เมื่อปี พ.ศ.2486 ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุ 27 พรรษา 6

วัดบางเตยกลาง (วัดเปิ้ง) ตั้งอยู่ใจกลางอำเภอสามโคก วัดกับที่ทำการอำเภอสามโคกห่างกันประมาณ 200 เมตร ถนนเดียวกันคือ ปทุม-สามโคก-เสนาอยุธยา วัดอยู่ติดถนน ชุมชนส่วนมากจะเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ (รามัญ)

วัดบางเตยกลางเดิมชื่อว่า "วัดแค" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาชาวมอญอพยพหนีสงครามมาพึ่งโพธิสมภารอยู่กับคนไทยที่เมืองสามโคก วัดนี้จึงมีสภาพเป็นวัดมอญแปลง และชาวบ้านคนไทยเชื่อสายมอญชอบเรียกว่า "วัดเปิ้ง"

ต่อมาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์กลับจากรบกับเงี้ยว ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดลิ้มกลีบอำภัยมหัยสวรรค์" (ลิ้มกลีบเป็นภรรยาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์) ต่อมามีการเปลี่ยนชื่ออีกเป็น "วัดบางเตยกลาง" จนถึงปัจจุบัน แต่ชาวบ้านยังเรียกติดปากว่า "วัดเปิ้ง" อยู่บ้าง

หลังจากได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง แล้วท่านได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมมากในขณะนั้น โดยสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆัง และสร้างอุโบสถหลังใหม่หมด

หลวงพ่อหอมเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมากองค์หนึ่ง ท่านนิยมสร้างพระเครื่องมาก มีทั้งพระสมเด็จ พระอม ตะกรุด เหรียญและพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อหอมได้รับความนิยมอย่างมาก โดยท่านปฏิบัติอยู่ในศีลเคร่งครัดมาก จนชาวบ้านนับถือมาก

ท่านดูแลวัดวาอารามสั่งสอนลูกศิษย์และญาติโยมให้เป็นคนดีมาตลอดไม่เคยขาดตกบกพร่อง ท่านจะสอนทั้งพระเณรลูกศิษย์ ญาติโยมทุกคนเสมอภาพกันหมด แต่ชาวบ้านกลัวท่านมาก เพราะท่านจะดุ สอนให้เป็นคนดีทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่เคยกลัวใครว่าท่านเลย ท่านเคยพูดว่า "ทำให้เขาไปสวรรค์" สอนสิ่งที่ถูกต้องจนชาวบ้านนับถือท่านมาก เพราะท่านมีเมตตากับทุกคน จึงสอนให้ลูกศิษย์ญาติโยมเป็นคนดีโดยไม่นิ่งเฉย สอนอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้

ชาวบ้านนิยมนำพระเครื่องและวัตถุมงคลทุกอย่างของหลวงพ่อหอมติดตัวตลอดเวลา ท่านได้ทำพระเครื่องวัตถุมงคลยมีพุทธคุณสูงมาก ท่านจะลงคาถาที่ท่านได้เรียนจากอาจารย์มาโดยใช้พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ส่วนมากแล้วกำกับด้วย คาถา อักขระขอมว่า กัม กะ ระ นัง ทุกอย่าง กัม กะ ระ นัง นี้คือ การกระทำของตัวเราเองทำอย่างไรได้อย่างนั้น

เคยมีคนถามหลวงพ่อหอมว่า "วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหนเมตตาหรือคงกระพัน"

หลวงพ่อหอมบอกว่า "อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึง คุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือนเราแขวนดิน" เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดีชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

หลวงพ่อหอมมีอายุ 90 ปี 69 พรรษา ลูกศิษย์และญาติโยมจึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญอายุ 90 ปีขึ้น และฉลองวิหารกับหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อหอมด้วยในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2549

หลวงพ่อหอม ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุรวม 91 พรรษา 70 ก่อนหน้านี้ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำหลวงพ่อหอม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนนทเวช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


ประเพณีและวัฒนธรรมประจำจังหวัดปทุมธานี

ประเพณีและวัฒนธรรมประจำจังหวัดปทุมธานี

เปิงสงกรานต์ เป็นประเพณีสงกรานต์ ข้าวแช่ของชาวไทยรามัญ มีการนำข้าวสุกแช่ลงในน้ำ เย็นลอยดอกมะลิ พร้อมกับจัดอาหารคาวหวาน เป็นสำรับแล้วแห่ไปถวายพระ และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันสงกรานต์ พอตกบ่ายก็จะมีการก่อพระ ทรายและร่วมปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระ และยกขบวนไปรด น้ำอวยพรผู้ใหญ่ การรำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังจากการออกพรรษา เป็นช่วงการ ทอดกฐินและทอดผ้าป่า คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีการจองกฐิน หรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปจอด ที่หัวบันไดบ้าน แล้วจะร้องเพลงเชิญชวนให้ทำบุญ เช่น บริจาคข้าวสาร เงิน ทองและสิ่งของ เมื่อได้รับแล้วก็จะร้องเพลงอวยพรให้ผู้บริจาคมีความสุข ความเจริญ การรำพาข้าวสารจะเริ่มตั้งแต่ 19.00 น.ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิก และพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็จะพายเรือไปขอรับ บริจาคที่ตำบลอื่น ๆ จนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึง ยุติการรำพาข้าวสาร จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ได้ไปทอดกฐินที่วัดนั้น
ประเพณีตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีอันดีงามของชาวมอญในจังหวัดปทุมธานีที่ทำในเทศกาลออก พรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป สืบทอดมานับร้อยปี ด้วยการนำ อาหารคาว-หวานลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีเชือกขึงไว้ เป็นแนวเพื่อรอตักบาตร จากนั้นพระจากวัดต่าง ๆ ก็จะลงเรือมารับบิณฑบาตร จากเรือที่จอดอยู่โดยการสาวเชือกตั้งแต่ต้นจนสุดปลายเชือก หลังจากพิธีตัก บาตรในช่วงเช้าแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีงานปิดทองนมัสการพระประธานใน โบสถ์ มีการแข่งเรือ และมหรสพพื้นบ้านมอญรำ เป็นประเพณีของชาวรามัญโบราณตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการใช้ปี่พาทย์มอญเล่นประกอบการรำและการร้อง ใช้หญิงสาวจำนวน 8-12 คนขึ้นไปรำในงานพิธีมงคล โดยจะแต่งกายชุดของชาวมอญห่มสไบเฉียง เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม เกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิ ทัดดอกไม้สดข้างหูและสวมกำไลที่ข้อเท้าทะแยมอญ ทุกโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครึกครื้น เป็นการละเล่นพื้นเมืองของหนุ่มสาวชาวมอญ มีลักษณะคล้ายหมอลำของภาคอีสาน หรือลำตัดของคนไทยภาคกลาง มีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีต่อปากต่อคำกันการจุดลูกหนู เป็นประเพณีเผาศพพระภิกษุ-สามเณรใช้ดอกไม้เพลิงเป็นฉนวน ร้อยด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังดอกไม้เพลิง ดอกไม้เพลิงจะวิ่งไปจุดไฟที่เมรุ การเล่นสะบ้า จัดขึ้นในวันสงกรานต์เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมอญจัดขึ้นในวันสงกรานต์ตอนบ่ายๆ หนุ่มสาวชาวบ้านพบปะสมาคมกันอย่างใกล้ชิด โดยพวกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้ลูกหลานของตนแต่งกายให้สวยงาม มาชุมนุมเล่นทอยลูกสะบ้ากัน



อาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปทุมธานี

อาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปทุมธานี
กาละแม กาละแม เป็นขนมไทยโบราณที่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยเพื่อใช้ในงานบุญและใช้แจกในงานเทศกาลแก่ญาติผู้ใหญ่และพี่น้อง กาละแม มีส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลทราย กะทิ และน้ำสะอาดต้มสุก
ข้าวเกรียบมอญโบราณข้าวเกรียบมอญโบราณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าวเกรียบงาปิ้ง อยู่คู่จังหวัดปทุมธานีมามากว่า ๑๐๐ ปี โดยเข้ามาพร้อมกับการอพยพของชาวมอญจากเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า อพยพเข้ามาอยู่บริเวณเขตอำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคกในปัจจุบัน ข้าวเกรียบมอญโบราณเป็นอาหารประเภทขนม หรืออาหารกินเล่นของคนมอญอพยพ สาเหตุการอพยพนี้เอง จึงทำให้การทำอาหารของชาวมอญในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวาน ต้องไม่ยุ่งยากในการจัดเตรียม แต่จะทำแบบมีส่วนผสมของอาหารง่ายๆ หาวัสดุอุปกรณ์ได้ในพื้นที่ และเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานๆ เช่นข้าวเกรียบมอญโบราณ สามารถเก็บไว้ได้นานเกิน ๓ เดือน ทั้งที่ไม่ใช้ยากันบูดในการทำ แต่การเก็บจะต้องเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น หรืออากาศเข้าไม่ได้ เพราะจะทำให้ข้าวเกรียบเหนียว ไม่กรอบ และไม่อร่อย
สิ่งของเครื่องใช้ประจำจังหวัดปทุมธานี
หัตถกรรมโอ่งสามโคก เครื่องปั้นดินเผา และอิฐมอญนั้น แต่เดิมทำกันอย่างกว้างขวางในเมืองปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี วัฒนธรรม และการสั่งสมทางภูมิปัญญาส่วนใหญ่ของชาวมอญ อันมีชื่อเสียงในอดีต แทบจะไม่มีใครเห็นแล้วในปัจจุบัน ด้วยวิถีชาวบ้านที่เปลี่ยนไป ความนิยมในเครื่องใช้ และภาชนะที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผาลดลง
ประกอบกับไม่มีผู้สืบทอดภูมิปัญญา และผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้ล้มหายตายจากกันไป จึงขาดผู้สืบสารตำนานสามโคก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 คุณนิคม บางจริงได้พยายามหาลู่ทางในการประกอบอาชีพ โดยเลือกหาวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น จึงได้เลือกเครื่องปั้นดินเผาสามโคกมาเป็นวัตถุดิบหลัก   และได้ใช้เวลาในการคิดค้น และศึกษาอยู่ประมาณ 7 เดือน เพื่อที่จะให้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับดินเผา และเพื่อให้สินค้ากลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และจาก
การที่ได้ไปเห็น "โอ่งเพ้นท์สี" ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของ ของอย่างหนึ่ง และจากการได้เคยเห็น "เครื่องเบญจรงค์"
จึงได้กลับมาคิดหาวิธีทำบ้าง แต่ปรับปรุงใหม่โดยใช้เศษผ้าไหมที่มีอยู่คิดทำประดิษฐ์ขึ้นมา เป็นโอ่งประดับด้วยผ้าไหมและเนื่องจากชาวบ้านไม่มีความชำนาญในการวาดลวดลายไทย เหมือนการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้นึกถึงผ้าไหม ซึ่ง
จะมีลวดลายในตัว และประมาณเดือนกันยายน 2544 ได้มีการจัดทำแผนประชารัฐ โดยการจัดให้มีการประชุมประชาคมตำบลขึ้น คุณนิคม บางจริง ได้นำผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" ตัวนี้ไปเข้ารับการจัดทำแผนประชารัฐด้วย
ที่ประชุมประชาคมตำบลคลองพระอุดม จึงได้มีมติรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" เป็นสินค้าประจำตำบลคลองพระอุดม และต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบ และลวดลายใหม่ๆ มีทั้งโอ่ง อ่าง แจกัน คณโฑ กรรณน้ำต้นไห หม้อยา โอ่งทิชชู โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟหัวเตียง และรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ จะรู้จักสินค้าภายใต้ชื่อ "Thai Silk Jar" ในปัจจุบันได้มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปจำหน่ายทั้งตลาดภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้ามีรูปแบบให้เลือกมากกว่า 200 รูปแบบ มีลวดลายมากกว่า 100 ลาย และมีสีสรรมากกว่า 10 สี

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี
 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง ประกอบด้วย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 9 อาคาร มีทางเดินเชื่อมต่อกัน จัดแสดงเรื่องราวทางการเกษตรผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และหุ่นจำลอง ครอบคลุมเนื้อหางานการเกษตรทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน ป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ ส่วนด้านนอกมีเรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกษตร
สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ชาติพันธุ์วิทยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า   เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญยิ่งของพสกนิกรชาวไทย
ตั้งอยู่ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง เป็นสถาบันฝึกสุนัขของเอกชน รับฝึกสุนัขใช้งานจริง ด้วยหลักสูตรการสอนหลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตรวินัยความเชื่อฟังพื้นฐาน หลักสูตรเสริมทักษะและหลักสูตรสุนัขอารักขา

  หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานเอนกประสงค์ ประกอบด้วย อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น อาคารให้บริการค้นคว้า อาคารจัดแสดงนิทรรศการ
ถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ
  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นการสื่อสารความรู้ให้กับผู้เข้าชม ให้เข้าใจสาระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้โดยง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก ในบริเวณเทคโนธานี ตัวอาคารโดดเด่นด้วยการออกแบบเป็นรูปลูกเต๋า ภายในจัดแสดงนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ที่สามารถสร้างความเพลิดเพลินไปพร้อมกับการเรียนรู้ ชั้นที่ 1 จัดแสดงภาพ และผลงานนักวิทยาศาสตร์ การจำลองลูกโลกขนาดใหญ่ ชั้นที่ 2 จัดแสดงหุ่นจำลอง ลูซี่ ที่ทำจากฟอสซิล เป็นรูปเหมือนที่แสดงถึงการกำเนิดมนุษย์คนแรก ยานอวกาศ และมนุษย์อวกาศจำลอง ชั้นที่ 3 เป็นอุโมงค์เงา และเรือนไม้ จัดแสดงในเรื่องของแสง ชั้นที่ 4 จัดแสดงพื้นฐาน และเทคโนโลยีในประเทศไทยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา การผลิตด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ชั้นที่ 5 คือแสดงการแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และ ชั้นที่ 6 แสดงถึงภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้แล้วยังมีอาคารธรรมชาติวิทยาที่จัดแสดงนิทรรศการทางธรรมชาติ
วัดพืชอุดม
ตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทั้งอนุสรณ์สถานเทิดทูนวีรกรรมบรรพบุรุษไทยที่ได้ใช้สติปัญญา ความสามารถตลอดจนเลือดเนื้อและชีวิตเข้าปกป้องผืนพสุธามาตุภูมิแห่งนี้ไว้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยตลอดจนเหตุการณ์รบครั้งสำคัญของไทย และสงครามที่กองทัพไทยได้ไปปฏิบัติการรบในต่างประเทศ อาทิ สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี โดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์ และภาพถ่าย มีห้องจัดแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบเครื่องหมายยศของทหารทุกยุคสมัย ดินจากสมรภูมิรบที่สำคัญ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักด้วยหินอ่อนขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง และที่น่าสนใจมากคืออาคารภาพปริทัศน์แสดงภาพจิตรกรรมอันงดงามบนผนังโค้งวงกลม เรื่องราวจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประกอบเสียงคำบรรยาย รวมความยาวโดยรอบถึง 90 เมตร ด้านนอกจัดแสดงวัตถุยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ปลดประจำการ
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าสายสนิทวงศ์เป็นผู้มอบถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด แรกเริ่มนั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนักโดยใช้วัตถุหาง่าย เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็นพื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้า หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นเห็นความลำบากของพระเณรที่จำพรรษาอยู่ จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิเป็นทรงไทยขึ้นใหม่รวม 6 หลัง เพื่อเป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หอระฆังเก่า โบสถ์หินอ่อนเก่าและจิตรกรรมฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นประเพณีไทยดั้งเดิม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม
ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลองห้า อำเภอธัญบุรีห่างจากถนนพหลโยธิน ไปตามเส้นทางถนปทุมธานี-นครนายก ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร มีสิ่งที่น่าสนใจคือปลาสวายอาศัยอยู่ในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณหน้าวัดมีขนาดใหญ่ตัวละ 3-5 กิโลกรัม จำนวนมาก แต่ละวันมีผู้ไปเที่ยวชมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ
ดรีมการ์เด้น เป็นอุทยานสวนสวยที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงามท่ามกลางความเย็นสบายจากทะเลสาบขนาดใหญ่ และเคเบิ้ลคาร์ ที่จะพาชมความงามของทัศนียภาพในมุมสูง แฟนตาซี แลนด์ เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย ประกอบด้วย ปราสาทเจ้าหญิงนิทรา บ้านขนมปัง และบ้านยักษ์ แอดแวนเจอร์ แลนด์ ดินแดนแห่งการผจญภัย และท้าทาย ประกอบด้วย รถไฟตะลุยจักรวาล ไวกิ้งส์ เมืองหิมะ
 วัดชินวราราม
 ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ "วัดมะขามใต้" ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่งดงาม วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในสมัยรัชกาลที่ 7
วัดบางหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี ชื่อวัดโบสถ์นำมาจากชื่อหมู่บ้านที่ชาวมอญอพยพมาจากเมืองมอญ เช่นเดียวกับวัดอีกหลายวัดในปทุมธานี เช่น วัดหงษ์ วัดบางตะไนย์ ประชาชนมักมาที่วัดเพื่อสักการะหลวงพ่อสามพี่น้องในพระอุโบสถ และรูปหล่อหลวงปู่เทียน (พระครูบวรธรรมกิจ) พระเถระผู้ทรงคุณวิทยา ส่งเสริมด้านการศึกษาให้ชาวปทุม วัดนี้ยังคงมีวิหารเก่าเหลืออยู่ 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จากรามัญ คือ พระแสงอาญาสิทธิ์ และยังเก็บรักษาสิ่งสำคัญคือ ช้างสี่เศียรและบุษบกสัมฤทธิ์สำหรับประดับเสาหงส์ และรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมาจากรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปทุมธานี
วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ)
เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าศาลากลางจังหวัด เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ ประดิษฐานเสาหลักเมืองซึ่งมีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวงทำจากไม้ชัยพฤกษ์ และมีรูปหล่อพระนารายณ์สี่กรทรงเหนือหลังนกฮูกและพระวิษณุหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ด้านหลังของมณฑปบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายประกอบด้วยเครื่องรางของขลังที่รวบรวมมาจากวัดต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี
วัดจันทน์กะพ้อตั้งอยู่ที่ตำบลบางเตย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างโดยชาวมอญ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อว่า “วัดโกว๊ะ” ซึ่งแปลว่า “จันทน์กะพ้อ” ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ภายในวัดมีหอวัฒนธรรม ซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานีเช่น พิธี “ออกฮ้อยปะจุ๊” แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย
วัดเจดีย์ทอง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ อยู่ท้ายเกาะใหญ่มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด กุฏิลายจำหลักไม้สวยงามชมศาลาสองหลังต่อกันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตาฟแต่ก่อนนั้นจระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก มอญเรียกว่า “เวียงจาม” เป็นวัดที่อยู่สุดเขตจังหวัด ปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเชียงรากน้อย วัดมีสิ่งสำคัญคือ พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะเงินปางสะดุ้งมาร ธรรมมาสน์ทำด้วยไม้สักฉลุสีแดงลายทอง และเจดีย์มอญอายุกว่า 100 ปี มีฐานเป็นสิงห์ องค์สถูปชั้นยอดเจดีย์เป็นดอกบัว 9 ชั้น ลักษณะเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม
วัดสะแก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา   เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป
วัดเขียนเขต ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลองหน้าวัดมีปลาสวายจำนวนมาก มีขนาดใหญ่ตัวละ 3- 5 กิโลกรัม
สวนสนุกดรีมเวิลด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของตัวเมือง   เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดมะขามใต้” ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่งดงาม วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในสมัยรัชกาลที่ 7ตั้งอยู่ตำบลคลองห้า สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานด้านศิลปและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระองค์ 9 ด้าน คือ ด้านหัตถกรรม ด้านกีฬา ด้านวรรณศิลป์ ด้านจิตรกรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี และด้านการพระราชนิพนธ์เพลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงประวัติและผลงานอันล้ำค่าของศิลปินแห่งชาติทุกท่านในรูปแบบนิทรรศการภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถ่ายทอดผลงานและภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติทั้ง 4 สาขา คือ สาขาวรรณศิลป์ ศิลปการแสดง ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม